วิธีจัดการกับความเครียดให้อยู่หมัด

Posted by เคล็ดลับดูแลสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ



เข้าใจว่าอารมณ์หรือความรู้สึกไม่สบายใจที่เราเรียกมันว่าความเครียดนั้นมันสามารถมาอยู่กับเราได้ทุกเมื่อที่มีโอกาศและถ้าหากปล่อยให้สะสมอยู่นานคงจะเป็นผลไม่ดีต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ซึ่งมีหลายคนตกอยู่ในสภาวะความเครียดและใช้วิธีที่ให้หลุดพ้นจากความเครียดแบบผิดวิธี ซึ่งมันก็มีตัวอย่างให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆตามข่าวในทีวี หนังสือพิมพ์ ข่าวตามเว็บไซต์ ที่เครียดจากการทำงานจนต้องฆ่าตัวตาย ปีนเสาไฟอย่างนี้ก็มี

ขอบอกว่าเป็นวิธีที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ควรรู้จักการปฏิบัติตนที่ดีและเลือกวิธีที่เหมาะสม จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข แล้วทำยังไงตัวเองถึงจะมีความสุขปราศจากความเครียดอย่างให้มาครอบงำเราได้เป็นอันขาด วันนี้ผมจะมาบอกเล่าแบบเป็นเหตุและผล ถ้าเกิดขึ้นแล้วอะไรจะตามมา มีความเครียดแล้วจะส่งผลเสียอะไรต่อร่างการ จิตใจ มีอาการยังไงถึงเรียกว่าเครียด อย่างหลังนี้น่าจะรู้จักตัวเองดี

สาเหตุของความเครียด

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อจิตใจถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้ตื่นเต้นหรือวิตกกังวล ส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดความผิดปกติกับร่างกาย หากความเครียดมีมากและคงอยู่เป็นเวลานาน สาเหตุของความเครียดมีหลายประการดังนี้ครับ

ภาวะด้านร่างกาย เช่น สุขอ่อนแอ ความเจ็บป่วย ความพิการ ภาวะทุพโภชนาการ การติดสารเสพติด การเจริญเติมโตผิดปกติ ความอ้วน (เป็นหนึ่งสาเหตุที่ผู้หญิงฮิตกัน)

จิตใจ เช่น การสูญเสียของรัก สิ่งที่รัก ความคับข้องใจ วิตกกังวล ความกลัว ความขัดแย้ง หวาดระแวงการตัดสินใจ การต้องการการยอมรับจากเพื่อนฝูงหรือสังคม

สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ อากาศร้อนจัด เสีงดังมากไป รถติด ไฟไหม้ แผ่นดินไหว

อาการที่บ่งบอกว่ามีความเครียด

ส่วนใหญ่จะปวดศีรษะข้างเดียวบ่อยๆ หายใจไม่ค่อยออก หายใจถี่ เหนื่อยง่าย ท้องเสียหรือท้องผูกเป็นประจำ กระสับกระส่าย นอนไม่ค่อยหลับ อาการผิดปกติทั้งหลายที่คนปกติเค้าไม่เป็นกัน ส่วนด้านจิตใจนั้นจะมีอาการหงุดหงิดง่าย เบื่อหน่าย ท้อถอย เคร่งเครียด เก็บกด รู้สึกตัวเองำร้คุณค่า แยกตัวออกจากสังคม ซึ่งอาการเหล่านี้บ่งบอกอย่างชัดเจน

ลองสังเกตตัวเองครับว่าคุณมีอาการต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามีอาจเสี่ยงเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นได้
  1. ขมวดคิ้วตลอดเวลา
  2. ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  3. หายใจติดขัดใจสั่น
  4. นอนไม่หลับหรือหลับยากและฝันร้าย
  5. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำงานประจำวันไม่ค่อยได้
  6. ตื่นเต้น ตกใจง่ายเหงื่อออกง่าย
  7. ขาดสมาธิทำอะไรได้ไม่ค่อยนาน
  8. ซึมเศร้าอยู่คนเดียว
  9. เสียงสั่น ปากสั่นหรือมือสั่นเวลาไม่พอใจ
  10. ปวดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่
  11. ฉุนเฉียว โมโหง่าย
  12. หัวใจเต้นแรงเหนื่อยง่าย
  13. ระบบชับถ่ายผิดปกติ
  14. จุกแน่นหน้าอก
วิธีจัดการกับความเครียด

พักผ่อน การที่ร่างกายได้พักผ่อน ได้ผ่อนคลาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตประจำวันได้มาก และยังช่วยให้เผชิญกับสภาวการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การหลับนอน มันมีความสำคัญและจำเป็นมากต่อสุขภาพโดยต้องนอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง (ผู้หญ่) และ 8-10 ชั่วโมง สำหรับเด็ก

การผ่อนคลาย เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดระดับความวิตกกังวลและความเครียดทางกล้ามเนื้อ คือ พยายามที่จะให้กลุ่มกล้ามเนื้อบางกลุ่มของร่างกายตึงและหย่อน (ผ่อนคลาย) อย่างเป็นระบบ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเกิดขึ้นเมื่อเราผ่อนคลาย

1. การหายใจช้าลง ความต้องการออกซิเจนก็ลดน้อยลงไปด้วย

2. ต่อมหมวกไตชั้นในไม่หลั่งฮอร์โมน ปริมาณของฮอร์โมนอะดรีนาลินในกระแสโลหิตจะลดลง

3. มีการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ

4. สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะทำให้ต่อมพิทูอิตารีและระบบประสาทอัตโนมัติเกิดการเปลี่ยนแปลงคลื่นสมองจะช้าลงและลึก

5. ปริมาณเหงื่อลดลงอย่างเห็นได้ชัด

6. การเต้นของหัวใจช้าลงและความดันโลหิตลดลง

เตรียมตัวครับถ้าตอนนี้คุณกำลังเครียดหาห้องส่วนตัวที่รอบข้างเงียบๆอาการดีสักที่โดยละทิ้งความคิดที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลขจัดออกไปให้หมดโดยให้เริ่มจากการผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยให้ปฏิบัติตามนี้

- นั่งบนเก้าอี้สบายหรืออยู่ในท่าที่รู้สึกสบายพร้อมกับหลับตา
- ระบายความเครียดให้เกิดขึ้นที่มือขวา ให้กล้ามเนื้อบริเวณแขนตึงและแน่นโดยให้กล้ามเนื้อของแขนขวาส่วนบนตึงเหมือนกับกำลังยกของหนักอยู่ แต่อย่าให้มือขวาเคลื่อนไหว เป็นเวลา 5-7 วินาที

วิธีรับมือกับตัวเองเวลาเกิดความเครียด

สิ่งแรกเราต้องรู้จักตัวเองก่อน รู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์นั้นๆ แล้วผลที่ตามมาเป็นอย่างไร ลองประเมินตัวเองดูว่าเรามีความสามารถที่จะจัดการความรู้สึกมากน้อยเพียงใดเมื่อเกิดอารมณ์ โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจ รู้จักอดทนอดกั้นสะกดอารมณ์ให้ได้ แก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผล

สร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองมองหาแง่ดีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เชื่อมั่นและมีกำลังใจเพิ่มขึ้้น จัดลำดับความต้องการ ตั้งเป้าหมาย มีความมุ่งมั่น ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างเต็มใจ สร้างทัศนคติที่ดี รู้คุณค่าของตัวเอง

มีดพก

Related Post



แสดงความคิดเห็น